เมนู

สัมผัสมีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง ไม่มีวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง เจตนาทั้ง
หมดเป็นเจตนาเป็นไปในภูมิ 4. คำที่เหลือเหมือนเวทนาขันธ์นั่นแล.
นี้สังขารขันธนิเทศ

5. วิญญาณขันธนิเทศ

(บาลีข้อ 26)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งวิญญาณขันธ์ ต่อไป.
บทว่า ยํ กิญฺจิ วิญฺญาณํ (วิญญาณอย่างหนึ่ง) นี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงถือวิญญาณอันเป็นไปในภูมิ 4. บทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ (จักขุ
วิญญาณ) เป็นต้น พระองค์ตรัสเพื่อทรงแสดงวิญญาณที่ทรงยกขึ้นแสดงด้วย
สามารถแห่งวิญญาณที่เป็นอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ. ในพระบาลีนี้วิญญาณ 5 มี
จักขุวิญญาณเป็นต้น มีจักขุปสาทวัตถุเป็นต้น เป็นที่อาศัยเกิดทีเดียว. มโนวิญญาณ
มีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง ไม่มีหทัยเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง วิญญาณทั้งหมด
เป็นวิญญาณเป็นไปในภูมิ 4. คำที่เหลือเหมือนกับเวทนาขันธ์นั้นแล.
นี้วิญญาณขันธนิเทศ

ว่าด้วยปกิณกะในเบญจขันธ์ 16 อย่าง


บัดนี้ พึงทราบปกิณกะในขันธ์ทั้ง 5 โดยอาการ 16 อย่าง คือ
โดยการเกิดครั้งแรก (สมุคฺคมโต) 1
โดยการเกิดก่อนและหลัง (ปุพฺพาปรโต) 1
โดยกำหนดกาล (อทฺธานปริจฺเฉทโต) 1
โดยการเกิดขณะเดียวกันดับต่างขณะกัน (เอกุปฺปาทนานา-
นิโรธโต)
1